เอเจนซี - นี่คือสิ่งประดิษฐ์สุดเพอร์เฟ็กต์สำหรับพวกที่ไม่ชอบสวมหมวกกันน็อคขณะขี่จักรยาน
หมวก ‘Hvvding’ หรือ ‘Chieftain’ ในภาษาอังกฤษ คือถุงลมนิรภัยในปกเสื้อที่จะทำงานภายในเวลาเพียง 0.2 วินาที ช่วยปกป้องกระโหลกและคอของนักปั่นในกรณีที่มีการชนเกิดขึ้น
นักศึกษาวิชาออกแบบอุตสาหกรรมสวีเดน 2 คนใช้เวลากว่า 6 ปีในการออกแบบ Hvvding
แอนนา โฮปต์ บอกว่าบริษัทหวังว่าถุงลมนิรภัยพิเศษนี้จะออกวางตลาดในยุโรปเหนือและสหราช อาณาจักรได้ในฤดูใบไม้ผลิปีหน้า โดยราคาเริ่มแรกอาจอยู่ที่ราว 260 ปอนด์ ซึ่งแม้ค่อนข้างแพง แต่น่าจะถูกใจคนที่ไม่ชอบสวมหมวกกันน็อค
นักศึกษาทั้งสองร่วมกันพัฒนาระบบโดยใช้ปกเสื้อที่มีถุงลมนิรภัยซ่อน อยู่ภายใน ที่จะพองออกเมื่อเซนเซอร์ตรวจพบแรงกระแทกอย่างฉับพลัน
ลูกสูบก๊าซฮีเลียมขนาดจิ๋วจะทำให้ปกเสื้อพองออกภายในเวลาเพียง 0.1 วินาที และคงอยู่ในสภาพนั้นหลายวินาทีหลังการกระแทก โดยมีการปรับอุปกรณ์นี้หลายครั้งจากจำลองอุบัติเหตุการชนทั้งกับหุ่นและคน จริง
“ถุงลมนิรภัยได้รับการออกแบบมาเป็นฮูดที่จะปกป้องศีรษะของผู้ขี่ โดยที่ผู้ออกแบบบอกว่า สีของปกเสื้ออาจเปลี่ยนไปตามสีเสื้อผ้าที่ผู้ขี่สวม
“ตัวฮูดทำจากผ้าไนลอนที่ทนทานสามารถต้านทานการครูดกับถนนได้
“คนมากมายไม่ชอบสวมหมวกนิรภัยเพราะรูปลักษณ์ของหมวก และไม่ชอบที่ผมเสียทรงเมื่อถอดหมวกออก
“ดังนั้น แม้กฎหมายบังคับ แต่คนเหล่านั้นก็ยังไม่อยากสวมหมวกนิรภัยอยู่ดี และนี่ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในสวีเดนเท่านั้น แต่ยังมีอีกในหลายประเทศ รวมถึงสหราชอาณาจักร
“เราอยากสร้างบางสิ่งที่ทำให้คนเราปลอดภัย ขณะเดียวกันก็สามารถตอบโจทย์ให้กับคนมากมายคือ ความปลอดภัยที่มาพร้อมความดูดี
“เราถามนักปั่นหลายร้อยคนว่าต้องการอะไรจากหมวกกันน็อค หรืออุปกรณ์ที่จะช่วยให้พวกเขาปลอดภัย”
ทีมนักออกแบบทำการทดสอบเป็นร้อยๆ ครั้งโดยใช้การบันทึกการชนของจักรยานทั่วสวีเดนเพื่อสร้างภาพจำลองความ เคลื่อนไหวของนักปั่นเมื่อถูกชน
ฮูดนี้ออกแบบมาเพื่อให้ทำงานภายในเวลาเพียงเศษเสี้ยววินาที ดังนั้น ถุงลมนิรภัยจึงพองออกเต็มที่ก่อนที่ศีรษะผู้ขี่จะฟาดพื้นหรือฟาดกับสิ่งใด สิ่งหนึ่ง
ทีมนักออกแบบทดสอบการเคลื่อนไหวทุกประเภทของนักปั่นขณะขี่จักรยานใน เมืองหรือบนถนน แม้แต่การเบรกกะทันหันหรือการหลบหลีกก็ไม่ทำให้ถุงลมพองออก
“เราเก็บข้อมูลอุบัติเหตุของรถจักรยานทุกรูปแบบที่รู้จัก และรูปแบบการเคลื่อนไหวของผู้ขี่ระหว่างอุบัติเหตุเหล่านี้ และนำมาสร้างเหตุการณ์จำลองโดยใช้หุ่นเพื่อดูว่าร่างกายของผู้ขี่มี ปฏิกิริยาอย่างไรระหว่างเกิดอุบัติเหตุรุนแรง และเก็บการเคลื่อนไหวทั้งหมดไว้ในฐานข้อมูล
“จากนั้น ทีมนักออกแบบจะนำสูตรคณิตศาสตร์ของพวกเขามาคำนวณหาว่าการเคลื่อนไหวแบบใดที่ควรนำมาใช้เพื่อกระตุ้นให้อุปกรณ์ทำงาน”
ด้านโฆษกของรอยัล โซไซตี้ ฟอร์ เดอะ พรีเวนชัน ออฟ แอกซิเดนต์ส ซึ่งเป็นมูลนิธิการกุศลที่มุ่งเน้นส่งเสริมความปลอดภัยโดยเฉพาะความปลอดภัย บนท้องถนนของอังกฤษ แสดงความคิดเห็นว่านวัตกรรมนี้เป็นสิ่งที่ดี แต่ควรมีการพิสูจน์ยืนยันเพิ่มเติมเกี่ยวกับความสามารถในการใช้งานได้จริง และประสิทธิภาพของอุปกรณ์
“ตัวอย่างเช่น ถ้าดูจากราคา เราน่าจะคิดได้ว่าอุปกรณ์นี้คงจะดีกว่าหมวกกันน็อค แต่คำถามก็คือ มันทำงานในทุกสถานการณ์แวดล้อมหรือไม่ และมีสถานการณ์ใดหรือเปล่าที่อุปกรณ์นี้ไม่สามารถป้องกันการบาดเจ็บได้จริง”
อ้างอิง : manager
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น